2354 จำนวนผู้เข้าชม |
“ทำเลราชพฤกษ์” เมื่อ 20 ปีก่อน เป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ สองข้างฝั่งถนนจะพบผืนที่ดินเปล่า และพื้นที่ป่าที่มีแต่หญ้ารกครึ้ม การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนั้น มักลงทุนเพื่อทำการเกษตรมากกว่า ต่อมาในปี 2555 เกิดการขยายถนนเพิ่มเป็น 10 เลน ประกอบกับการเปลี่ยนผังเมืองใหม่จากเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม กลายเป็นเขตพื้นที่ชุมชน ปัจจัยนี้เองที่ทำให้ย่านราชพฤกษ์เริ่มมีการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยและเริ่มมี นายหน้าขายบ้าน มาคอยอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น
และในปี 2558 โครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราชพฤกษ์ก็มีครบทุก Segment ตั้งแต่ระดับ Economy Class ไปจนถึง Super Luxury Class และยังคงมีโครงการที่อยู่อาศัยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการฟื้นฟูสภาพถนนและขยายช่องทางคมนาคม จนกระทั่งในปี 2563 ทำเลราชพฤกษ์ก็กลายเป็นพื้นที่ New CBD หรือศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
วิเคราะห์ทำเลราชพฤกษ์จากพื้นที่ว่างเปล่า สู่พื้นที่ New CBD
เป็นที่ทราบกันดีว่าพื้นที่ CBD และ New CBD จะต้องมีความพร้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การสื่อสาร และพื้นที่สีเขียว โดยทำเลราชพฤกษ์ในปัจจุบัน นายหน้าขายบ้าน ให้การยอมรับว่าเป็นทำเลที่มีความพร้อมและมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดมาตั้งแต่ปี 2555 ที่มีการเปลี่ยนผังเมืองใหม่ จนกระทั่งปี 2563 ทำเลนี้ติด 1 ใน 10 ของพื้นที่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมากที่สุด โดยความแข็งแกร่งที่นำมาซึ่งความพร้อมของการขึ้นเป็นพื้นที่ New CBD มีดังต่อไปนี้
1. ด้านการคมนาคม
ทำเลราชพฤกษ์มีช่องทางการคมนาคมให้เลือกหลากหลายเส้นทาง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งเข้า-ออกเมือง โดยมีรถไฟฟ้า BTS สถานีบางหว้า ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ CBD อย่างสีลมและสาทร มีรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีคลองบางไผ่-เตาปูน ซึ่งระหว่างทางสามารถเลือกเปลี่ยนเส้นทางโดยใช้รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายนีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนได้
สำหรับผู้ที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว สามารถใช้ทางพิเศษศรีรัช เพื่อเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง และเชื่อมต่อสู่ทางพิเศษอื่น ๆ เพื่อเดินทางรอบเมืองและออกต่างจังหวัด ส่วนถนนหลักจากถนนราชพฤกษ์สามารถแยกไปสู่ถนนราชพฤกษ์ตัดใหม่, ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรัตนาธิเบศร์, ถนนกาญจนาภิเษก และถนนติวานนท์ได้
2. ด้านเศรษฐกิจ
ทำเลราชพฤกษ์เป็นทำเลที่แวดล้อมไปด้วยแหล่งอำนวยความสะดวก ด้วยโครงการทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น คอมมูนิตี้มอลล์อย่าง The Walk และ The Circle รวมไปถึงศูนย์การค้าชั้นนำอย่างเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต และอิเกีย บางใหญ่ ด้านสถานศึกษามีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้านนทบุรี และโรงเรียนสารสาสน์วิเทศน์ราชพฤกษ์ ส่วนความรวดเร็วในการรับการรักษาพยาบาลมีโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ และโรงพยาบาลพญาไท 3 คอยให้บริการ
3. พื้นที่สีเขียว
นอกจากทำเลราชพฤกษ์จะมีการพัฒนาด้านการคมนาคมและแหล่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แล้ว ทำเลนี้ยังใกล้กับ “ปอด” ของกรุงเทพฯ อย่างสวนจตุจักร, สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์, สวนวชิรเบญจทัศ และสวนสมเด็จย่าอีกด้วย ช่วยเติมเต็มวิถีชีวิตคนเมืองให้สมบูรณ์ครบทุกไลฟ์สไตล์
ทำเลราชพฤกษ์มีพื้นที่ใดบ้าง
หากคุณต้องการติดต่อ นายหน้าขายบ้าน เพื่อซื้อบ้านย่านราชพฤกษ์ อันดับแรกคุณควรทราบก่อนว่าจริง ๆ แล้วถนนราชพฤกษ์มีความยาวเพียง 42 กิโลเมตร แต่ตัดผ่านตั้งแต่ฝั่งธนบุรีข้ามมาสู่พื้นที่สาทร เข้าสู่จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่จังหวัดปทุมธานี โดยมีทางพิเศษศรีรัชเป็นเส้นทางที่ช่วยให้การจราจรมีความสะดวกสบายมากขึ้น
หรือจะเริ่มต้นนับตั้งแต่รถไฟฟ้า BTS สถานีบางหว้าข้ามไปสู่สาทรและมุ่งหน้าวงเวียนราชพฤกษ์ (วงเวียนพระราม 5) และตรงไปออกถนนหลวงหมายเลข 345 ก็ได้เช่นกัน และจุดถนนหลวงหมายเลข 345 นี้เอง ที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อไปสู่ถนนหลวงหมายเลข 346 เพื่อออกไปจังหวัดอยุธยาและจังหวัดสุพรรณบุรี
ทำเลราชพฤกษ์เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการย้ายถิ่นฐานของผู้ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ยังมีที่อยู่อาศัยอีกมากมายในพื้นที่นี้ที่ นายหน้าขายบ้าน จะสามารถแนะนำและเลือกสรรให้เหมาะกับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นคอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว เพราะแน่นอนว่าในอนาคตทำเลราชพฤกษ์จะกลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ CBD ที่เพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก